Thursday, 23 March 2023

ไหว้พระ 9 วัด จังหวัดสกลนครดินแดนแห่งเกจิภาคอีสาน

1 วัดป่าอุดมสมพร

วัดป่าอุดมสมพร เป็นวัดที่พระอาจารย์ฝั้นที่ได้สร้างขึ้นคู่กับวัดถ้ำขาม ตั้งอยู่ในเขตอำเภอพรรณานิคมทั้งสองวัด วัดถ้ำขามเป็นวัดที่สร้างอยู่บนเขาอยู่ในเทือกเขาภูพาน ชาวบ้านส่วนใหญ่เรียกวัดถ้ำขามว่าวัดบน ส่วนวัดป่าอุดมสมพรจะเรียกว่าวัดล่าง บั้นปลายชีวิตของพระอาจารย์ฝั้น ได้มาอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพรและได้มรณภาพที่วัดแห่งนี้ที่ท่านได้สร้างไว้ วัดป่าอุดมสมพร อยู่ในเขตอำเภอพรรณานิคม ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร (ตามทางหลวงหมายเลข 22 เลี้ยวขวาเข้าประมาณ2 กิโลเมตร) ภายในบริเวณวัดเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ลักษณะตัวพิพิธภัณฑ์เป็นรูปเจดีย์ฐานกลมกลีบบัวสามชั้นปลายยอดแหลม

วัดป่าอุดมสมพร เป็นพิพิธภัณฑ์เป็นรูปเจดีย์ฐานกลมกลีบบัวสามชั้น ภายในมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นมีขนาดเท่ารูปจริงมีตู้กระจกบรรจุอัฐิ และแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมทั้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ

วัดป่าอุดมสมพร เลขที่ 56 หมู่4 บ้านนาหัวช้าง ตำบล พรรณา อำเภอ พรรณานิคม สกลนคร 47130

2 วัดถ้ำขาม

วัดถ้ำขาม ตั้งอยู่บนสันเขาภูพาน มีบรรยกาศร่มรื่นงดงาม เป็นอนุสรณ์ว่า หลวงปู่เทสก์ ได้เคยมาจำพรรษาอยู่ ณ ที่นี้ เป็นสถาปัตยกรรม แบบเจีดีย์จตุรัสมุข ตามแนวศิลปกรรมอีสานผสมกับอยุธยา ภายในประดิษฐานรูปหล่อสำริดหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ภายในวัดมีกุฏิเดิมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งหลวงปู่เทสก์ ได้มาจำพรรษาจนกระทั่งละสังขาร ณ ที่นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันได้ทำหุ่นเหมือนหลวงปู่เทสก์ หล่อด้วยไฟเบอร์กลาส ในอิริยาบถนั่งเก้าอี้ในกฏิเพื่อจำลองเหตุการณ์ประหนึ่งว่าหลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่

ประวัติวัดถ้ำขามหรือภูขาม (เทสกเจดีย์ เทสรังสีอนุสรณ์) ตั้งอยู่ที่ อ.พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บนสันเขาภูพาน มีบรรยกาศร่มรื่นงดงาม เป็นอนุสรณ์ว่า หลวงปู่เทสก์ ได้เคยมาจำพรรษาอยู่ ณ ที่นี้ เป็นสถาปัตยกรรม แบบเจดีย์จตุรัสมุข ตามแนวศิลปกรรมอีสานผสมกับอยุธยา ภายในประดิษฐานรูปหล่อสำริดหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ภายในวัดมีกุฏิเดิมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งหลวงปู่เทสก์ ได้มาจำพรรษาจนกระทั่งละสังขาร ณ ที่นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันได้ทำหุ่นเหมือนหลวงปู่เทสก์ หล่อด้วยไฟเบอร์กลาส ในอิริยาบถนั่งเก้าอี้ในกฎิเพื่อจำลองเหตุการณ์ประหนึ่งว่าหลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ตำนานของวัดถ้ำขามมีมากมายตั้งแต่สมัยที่เรายังเด็กสมัยหลวงปุฝันยังมีชีวิตอยู่เราจำได้ตอนที่เราตามคุณย่าไปจำศีลในวันพระและได้ช่วยขนหินขนทรายขึ้นไปทำกุฎิพระในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์มีคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังตอนที่หลวงปู่ฝันเดินธุดงมาอยู่ใหม่ๆมีเสือแม่ลูกอ่อนอาศัยอยู่ในถ้ำอยู่แล้วแต่ด้วยบูญบารมีหรืออะไรก็ไม่รู้เสือแม่ลูกอ่อนยอมสละถ้ำให้หลวงปู่อยู่และได้สร้างเป็นที่ปฏิบัติธรรมเป็นวัดถ้ำขามมาจนทุกวันนี้

วัดถ้ำขาม 22 หมู่ 14 ตำบล ไร่ อำเภอ พรรณานิคม สกลนคร 47130

3 พระธาตุศรีมงคล

พระธาตุศรีมงคล ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุศรีมงคล ตำบลบ้านธาตุ อำเภอวาริชภูมิ ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ยอดแหลม ตกแต่งด้วยศิลปกรรมยุคใหม่ ก่ออิฐถือปูนประดับด้วยลายปั้นดินเผา บริเวณฐานเป็นพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าสร้างด้วยดินเผาครอบพระธาตุองค์เดิมซึ่งเป็นศิลาแลงที่ชำรุด นับเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอวาริชภูมิ

วัดพระธาตุศรีมงคล ตําบลบ้านธาตุ ลักษณะเป็นเจดีย์ฐาน สี่เหลี่ยม ยอดแหลม ตกแต่งด้วยศิลปกรรมยุคใหม่ ก่ออิฐถือปูนประดับด้วยลายปั้นดินเผา บริเวณฐานเป็นพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าสร้างด้วยดินเผาครอบพระธาตุองค์เดิมซึ่งเป็นศิลาแลงที่ชํารุด นับเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวอําเภอวาริชภูมิ การคมนาคมสะดวกรถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณวัดบริเวณที่ตั้งบ้านธาตุแต่เดิมพื้นที่เป็นป่าดง ครั้งแรกได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่อำเภอวาริชภูมิในปัจจุบันนี้ ได้พากันออกมาหักร้างถางพงไพร เพื่อทำไร่ แต่พอถางลึกเข้าไปก็พบองค์พระธาตุร้างอยู่ในดง กลัวอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุนี้จะลงโทษ ดังนั้นได้จึงนิมนต์ท่านพระครูหลักคำ ประธานสงฆ์เมืองวารี มาพิจารณา ท่านเห็นว่าสถานที่บริเวณนี้เป็นมงคล เหมาะที่จะสร้างหมู่บ้านได้จึงได้พร้อมใจกันถากถางบริเวณพระธาตุร้างนี้พร้อมทั้งได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแผ่ไปให้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาองค์พระธาตุ และได้สร้างวัดตรงนั้น ท่านพระครูหลักคำได้ตั้งชื่อพระธาตุร้างนั้นว่า “พระธาตุศรีมงคล” ตั้งชื่อวัดว่า “วัดธาตุศรีมงคล” เมื่อประมาณ พ.ศ. 2444 และเรียกหมู่บ้านว่า “บ้านธาตุ” จนปัจจุบันนี้

วัดพระธาตุศรีมงคล ตำบล วาริชภูมิ อำเภอ วาริชภูมิ สกลนคร 47150 ริมเส้นทางสายวาริชภูมิ – พังโคน ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 65 กม.

4 วัดพระวิสุทธิวงศ์ นิรมัย

วัดพระวิสุทธิวงศ์ นิรมัย ตั้งอยู่ที่บ้านนิรมัย ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เป็นโบสถคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ภายใต้สังฆมณฑลท่าแร่ – หนองแสง

มีการกล่าวขานกันว่า มีคนเห็นสตรีผู้หนึ่งรูปร่างสวยสง่างามได้ขออาศัยรถพ่อค้าและทหารอเมริกันมาลงบริเวณที่ตั้งบ้านนิรมัยในปัจจุบันเป็นประจำทั้งที่เป็นป่า เมื่อสืบหาก็ไม่ปรากฎว่ามีหญิงลึกลับนั้นจริง ชาวบ้านจึงสันนิษฐานตามความเชื่อว่าน่าจะเป็น “พระนางมารีอา” ประจักษ์มาและปรารถนาให้มีการตั้งวัดในบริเวณดังกล่าว จึงมีการสานความคิดต่อเนื่อง จนในที่สุดความฝันก็เป็นจริงได้มีการสร้างวัดในบริเวณดังกล่าว

วัดพระวิสุทธิวงศ์ นิรมัย เลขที่ 239 หมู่ที่ 5 บ้านนิรมัย ตำบลกุสุมาลย์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

5 วัดถ้ำผาแด่น

วัดถ้ำผาแด่น เป็นสถานที่ที่ห้ามพลาดของสกลนคร ที่งดงามด้วยงานแกะสลักบนหน้าผาหินที่มีเอกลักษณ์สวยงามเป็นเรื่องราว พุทธประวัติโดยวัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดสกลนคร มีความเป็นมานับร้อยปี ภายในวัดมีธรรมชาติอันร่มรื่นปกคลุมด้วยต้นไม้ และโขดหินขนาดใหญ่ เหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนาเป็นอย่างมาก

วัดถ้ำผาแด่น ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ห่างจากตัวจังหวัด 17 กม. เป็นอีกหนึ่งในสถานที่ห้ามพลาดของสกลนคร โดดเด่นด้วยรูปปั้นองค์พญานาคปรกขนาดใหญ่ ภาพแกะสลักบนหน้าผาหินมีเอกลักษณ์วิจิตรงดงาม พญาเต่าภูผาแด่นงดงามอลังการ ตัววัดตั้งอยู่บนภูเขาสูงท่ามกลางธรรมชาติร่มรื่น มีการจัดสวนด้วยดอกไม้สีสันสดใส ต้นไม้ต่างๆ และน้ำตกจำลอง มีร้านกาแฟไว้ให้นั่งพักสัมผัสธรรมชาติที่ร่มรื่น สามารถชมทิวทัศน์มองเห็นวิวภูเขาเขียวขจีได้แบบพาโนรามาอีกด้วย

วัดถ้ำผาแด่น บ้านดงน้อย ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสกลนคร

6 วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (ถ้ำพระทอง)

วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (ถ้ำพระทอง) ตั้งอยู่ที่บ้านโคกตาดทอง หมู่ที่ 5 ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร สร้างก่อน พ.ศ. 2484 ที่ดินของวัดเป็นที่ดินวนอุทยานภูพาน วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอวาริชภูมิ ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 16 กิโลเมตร ปัจจุบันมีพระมหาศักดิ์ชาย อมโร เป็นเจ้าอาวาส วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ มีโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปแกะสลักด้วยหินบนผนัง ศิลาจารึกอักษรโบราณ พระพุทธไสยาสน์ พระนาคปรก พระพุทธรูปเก่าแก่ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ โรงย้อม โรงครัว ศาลาเอนกประสงค์ เรือนรับรองผู้มาแสวงบุญ ถังเก็บน้ำฝน ซึ่งปัจจุบันท่านเจ้าอาวาสท่านได้เก็บไว้ในพระธาตุหิน เนื่องจากมีคนมาขโมยโบราณไปหลายชิ้นจึงต้องมีการเก็บรักษาได้เป็นอย่างดี เพื่อคงไว้เพื่อชั่วลูกชั่วหลานวัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (ถ้ำพระทอง) ตั้งอยู่ที่บ้านโคกตาดทอง หมู่ที่ 5 ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร สร้างก่อน พ.ศ. 2484 ที่ดินของวัดเป็นที่ดินวนอุทยานภูพาน วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอวาริชภูมิ ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 16 กิโลเมตร ปัจจุบันมีพระมหาศักดิ์ชาย อมโร เป็นเจ้าอาวาส

วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (วัดถ้ำพระทอง) ในอดีตเคยเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งนี้ เนื่องจากมีหลักฐานที่มีอยู่หลายสิ่ง เป็นต้นว่า พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ที่แกะสลักด้วยหินบริเวณผนังถ้ำ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกทำลายไป คงเหลือให้เห็นเพียงองค์เดียว นอกจากนี้ยังมีศิลาจารึกซึ่งเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ได้มีผู้เชี่ยวชาญมาอ่านและได้แปลพอได้ใจความว่า พุทธศตวรรษที่ 16 เดือนยี่ ปีมะโรง สถานที่นี้เคยเป็นที่ประชุมของคณะสงฆ์ 31 คณะ พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ -สถาปัตยกรรมของโบสถ์หิน -จุดชมวิวที่มองเห็น จ.สกลนครได้สวยงาม

เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับการขึ้นทะเบียนวัด เมื่อ พ.ศ. 2542 วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ มีโบราณวัตถุ เสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปแกะสลักด้วยหินบนผนัง ศิลาจารึกอักษรโบราณ พระพุทธไสยาสน์ พระนาคปรก พระพุทธรูปเก่าแก่ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ โรงย้อม โรงครัว ศาลาเอนกประสงค์ เรือนรับรองผู้มาแสวงบุญ ถังเก็บน้ำฝน ซึ่งบริเวณวัดมีบรรยากาศเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง

วัดถ้ำพระพุทธไสยาสน์ (ถ้ำพระทอง) หมู่ 5 บ้านโคกตาทอง-วัดถ้ำพระพุทธไสยาท อำเภอ วาริชภูมิ สกลนคร 47150

7 วัดอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง)

วัดถ้ำพวง เป็นวัดธรรมยุตินิกายฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งอยู่ติดกับภูเขาในเขตท้องที่บ้านท่าวัด หมู่ที่ 1 ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ จังหวัดสกลนคร – จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์ บนเทือกเขาภูพานซึ่งเชื่อมต่อจากจังหวัดสกลนครที่มีนามตามชาวบ้านท้องถิ่นเรียกว่า“ภูผาเหล็ก”คงจะมาจากความหมายที่ว่าบริเวณพื้นที่ถ้ำพวงนั้นมีแร่เหล็กเป็นจำนวนมาก หากนำแม่เหล็กวางลงบนพื้นดิน จะมีหินเล็กๆติดขึ้นมาเป็นพวง กล่าวย้อนหลังไปประมาณ 70 – 80 ปี บริเวณพื้นที่วัดถ้ำพวงที่ชาวบ้านเรียกว่าถ้ำพวงนั้นคงจะอาศัยถ้ำเล็กๆ ซึ่งมีลักษณะเหมือนอย่างพวงเกวียนหรือกระทูลเกวียน ชาวบ้านจึงพากันเรียกถ้ำพวง และเรียกติดปากกันมาจนถึงทุกวันนี้

วัดอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) มีลักษณะพิพิธภัณฑ์เป็นทรงจัตุรมุข 2 ชั้น ประดับด้วยหินอ่อนทั้งหลัง ชั้นล่างตกแต่งเป็นห้องแสดงภาพประวัติและเครื่องอัฐบริขารของพระอาจารย์วัน บริเวณใกล้เคียงเป็นถ้ำพวง ซึ่งประดิษฐานพระมุจรินทร์องค์ใหญ่

วัดอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) บ้านถ้ำติ้ว หมู่ 3ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร

8 พระธาตุภูเพ็ก

พระธาตุภูเพ็ก เป็นปราสาทขอมขนาดใหญ่ ก่อสร้างด้วยหินทราย เรือนธาตุตั้งอยู่บนฐานยกสูง ตอนหน้าของปราสาทมีฐานหินเป็นก้อนเรียงซ้อน ๆ กัน ยื่นออกคล้ายกากบาท เรียกว่า โคปุระ สูงกว่าฐานของเรือนฐานเล็กน้อย บริเวณโดยรอบพบสระน้ำโบราณและแหล่งสกัดหินในการสร้างปราสาท หน้าอาคารปราสาทหันไปทางทิศตะวันออกและมีบันไดหินก่อปูนขึ้นบนยอดเขาประมาณ 491 ขั้น ตามตำนานสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยเดียวกับพระธาตุนารายณ์เจงเวงนอกจากนี้แล้ว พระธาตุภูเพ็กยังใช้เป็นสถานที่พิสูจน์ความเชื่อเรื่องวันสิ้นโลกในปลายปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) ด้วยมีพิกัดอยู่ในเมอริเดียนเดียวกันกับปราสาทบายน ในประเทศกัมพูชา

พระธาตุภูเพ็ก เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 สมัยขอมบายน อยู่บนยอดเขาภูเพ็กของเทือกเขาภูพานสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 544 เมตร ปราสาทแห่งนี้ก่อด้วยหินทราย ในลักษณะเทวาลัยที่ไม่แล้วเสร็จ เรือนธาตุตั้งอยู่บนฐานยกสูง ตัวเรือนธาตุทั้งสี่ด้านย่อมุมๆละ 5 เหลี่ยม รวมเป็น 20 เหลี่ยม สูงจากพื้นดินถึงขื่อ 7.95 เมตร มีบันไดขึ้นเรือนปราสาท 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้และทิศตะวันตก หน้าอาคารปราสาทหันไปทางทิศตะวันออก ได้มีการขุดพบรูปเคารพสตรีหน้าตักกว้างประมาณ 12 นิ้ว สลักจากศิลาทราย ลักษณะของศิราภรณ์ของสตรีคล้ายกับศิราภรณ์สมัยปาปวน (พ.ศ. 1560 – 1630) ทางเข้าพระธาตุภูเพ็กอยู่ก่อนถึงน้ำตกคำหอม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 59 กิโลเมตร

พระธาตุภูเพ็ก หมู่ 12 ตำบล นาหัวบ่อ อำเภอ พรรณานิคม สกลนคร 47220

9 วัดพระธาตุดุม

วัดพระธาตุดุมเป็นปราสาทหินศิลาแลง ก่อสร้างสมัยอารยธรรมขอม ที่ปรากฏในเขตจังหวัดสกลนคร ภาคตะวันออกเฉียงเกนือตอนบน ของประเทศไทย

มีปรางค์องค์เดียวสร้างด้วยศิลาแลงสมัยเดียวกับพระธาตุนารายณ์เจงเวง แต่องค์ปราสาทเล็กกว่ามีเพียงยอดเดียวไม่มีฐานรองรับ พบทับหลังทั้ง 4 ด้าน ด้านทิศเหนือเป็นภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ นอกจากนี้ยังมีภาพเทวดาทรงพาหนะเหนือหน้ากาลประกอบด้วยสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้าง สิงห์ และลายใบไม้ม้วน การกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ศิลปะเขมรแบบบาปวน

วัดพระธาตุดุม ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000